"ได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนพัฒนาไฟฟ้าสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน พ.ศ. 2562"

ภารกิจพิชิตขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้า

ลุ้นรางวัล iPad Mini มูลค่า 13,xxx บาท และรางวัลอื่นๆ กว่า 50 รางวัล พร้อมประกาศนียบัตรจากโครงการ
เล่นแบบเต็มจอ (Full Screen) คลิกที่นี่

รู้ก่อนเล่น : Level 1

หมวด : ฉลากหรือสัญลักษณ์ขยะอันตราย

  • ฉลากบนบรรจุภัณฑ์ หรือภาชนะ ที่มีคำว่า สารไวไฟ สารมีพิษ สารกัดกร่อน หรือสารที่ระเบิดได้ เมื่อถูกนำมาทิ้งจะถือเป็นขยะอันตราย
  • เป็นสัญลักษณ์ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์-ภาชนะ บรรจุสารไวไฟ ติดไฟง่าย เช่น ก๊าซหุงต้ม ทินเนอร์ น้ำมันก๊าด เมื่อใช้ไม่หมด ติดอยู่ก้นขวดหรือก้นกระป๋อง ถูกนำมาทิ้ง จะกลายเป็นขยะอันตราย
  • เป็นสัญลักษณ์ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์-ภาชนะ บรรจุสารกัดกร่อน เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำยาที่มีสารฟอกขาว สีย้อมผ้า เมื่อใช้ไม่หมด ติดอยู่ก้นขวดหรือก้นกระป๋อง ถูกนำมาทิ้ง จะกลายเป็นขยะอันตราย
  • เป็นสัญลักษณ์ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์-ภาชนะ บรรจุสารกัดกร่อน เช่น น้ำยาฆ่าเชื้อ น้ำยาที่มีสารฟอกขาว สีย้อมผ้า เมื่อใช้ไม่หมด ติดอยู่ก้นขวดหรือก้นกระป๋อง ถูกนำมาทิ้ง จะกลายเป็นขยะอันตราย
  • เป็นสัญลักษณ์ที่ติดอยู่บนผลิตภัณฑ์-ภาชนะ บรรจุสารที่ระเบิดได้ เมื่อถูกการเสียดสี หรือถูกความร้อน เช่น ดอกไม้ไฟ กระป๋องสเปรย์ต่าง ๆ เมื่อถูกนำมาทิ้งจะกลายเป็นขยะอันตราย

หมวด : สัญลักษณ์ถังขยะ

  • ถังขยะที่มีสัญลักษณ์คนกำลังทิ้งขยะลงถัง ไว้สำหรับทิ้งขยะทั่วไป ไม่คุ้มที่จะนำกลับมารีไซเคิลใหม่ เช่น ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก แก้วกาแฟกระดาษ
  • ถังขยะที่มีสัญลักษณ์ก้างปลาและเศษผักในกรอบสามเหลี่ยม สำหรับทิ้งขยะอินทรีย์ เน่าง่าย ย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษอาหาร เศษผัก เปลือกผลไม้
  • ถังขยะที่มีสัญลักษณ์ลูกศร 3 ดอก หมุนตามเข็มนาฬิกาต่อกันเป็นรูปสามเหลี่ยม สำหรับทิ้งขยะรีไซเคิล สามารถนำไปขายหรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ เช่น ขวดน้ำดื่มแบบใส กระป๋องกาแฟ
  • ถังขยะที่มีสัญลักษณ์หัวกะโหลกกับกระดูกไขว้ทับกัน สำหรับทิ้งขยะอันตราย หรือบนบรรจุภัณฑ์ หากมีคำว่า สารไวไฟ สารมีพิษ หรือสารกัดกร่อน ก็จัดอยู่ในขยะประเภทนี้ เช่น ถ่านไฟฉาย กระป๋องสเปรย์

หมวด : ความหมาย ประเภทขยะ และสีถังขยะ

  • ขยะมาจากหลายแหล่งกำเนิด เช่น บ้านเรือน โรงงาน สถานศึกษา ร้านค้า สถานประกอบการ ตลาด
  • ถ้วยบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นขยะทั่วไป ก่อนทิ้งควรเทเศษบะหมี่-น้ำซุป ลงถังขยะอินทรีย์ ส่วนถ้วยบะหมี่ให้ทิ้งลงในถังขยะทั่วไป หรือถังขยะสีน้ำเงิน
  • เศษอาหาร เศษผัก เปลือกผลไม้ เป็นขยะอินทรีย์ เน่าง่าย ย่อยสลายได้เร็ว นำมาหมักทำปุ๋ยได้ แนะนำให้ทิ้งถังขยะสีเขียว
  • กระป๋องสเปรย์ กระป๋องสีทาบ้าน ขวดยาฆ่าแมลง เป็นขยะอันตราย ควรทิ้งที่ถังขยะสีแดง หลีกเลี่ยงการนำไปเผา ฝังดิน ทิ้งลงแม่น้ำ
  • เศษขนม หรือขนมที่หมดอายุ ไม่ควรทิ้งรวมกับถุงขนมพลาสติก ควรแยกเศษขนมทิ้งลงถังขยะอินทรีย์ ส่วนถุงพลาสติกทิ้งลงในถังขยะทั่วไป
  • เส้นผม เป็นขยะอินทรีย์ ย่อยสลายได้เองตามธรรมชาติ ควรทิ้งในถังขยะสีเขียว หรือถังขยะอินทรีย์
  • ซากจิ้งจกหรือหนู เป็นขยะอินทรีย์ เน่าง่าย ย่อยสลายได้เร็ว ควรทิ้งลงถังขยะสีเขียว หรือถังขยะอินทรีย์
  • เปลือกลูกอม เป็นขยะทั่วไป ย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่าในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ควรทิ้งลงถังขยะสีน้ำเงิน
  • ขนสัตว์ เช่น ขนแมว ขนสุนัข เป็นขยะอินทรีย์ เน่าง่าย ย่อยสลายได้เร็ว ควรทิ้งลงถังขยะสีเขียว หรือถังขยะอินทรีย์
  • ขี้เลื่อย เป็นขยะอินทรีย์ เน่าง่าย ย่อยสลายได้เร็ว ควรทิ้งลงถังขยะสีเขียว หรือถังขยะอินทรีย์
  • พลาสติกห่อขนม เป็นขยะทั่วไป ย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่าในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ควรทิ้งลงถังขยะสีน้ำเงิน หรือถังขยะทั่วไป
  • หนังสือพิมพ์ ขวดน้ำอัดลม และกระป๋องกาแฟ เป็นขยะรีไซเคิล ควรทิ้งที่ถังขยะสีเหลือง
  • ขวดสุรา เป็นขยะรีไซเคิล สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ ควรทิ้งที่ถังขยะสีเหลือง
  • ขยะรีไซเคิล คือ ขยะที่สามารถนำไปขายหรือนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น ขวดน้ำดื่มแบบใส หนังสือพิมพ์ วารสาร ควรทิ้งถังขยะสีเหลือง
  • กากกาแฟ เป็นขยะอินทรีย์ นำกลับไปใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น ทำปุ๋ยบำรุงดิน ใช้ดูดซับกลิ่นไม่พึงประสงค์ ใช้ทำสีย้อมผ้า ผลิตเป็นถ้วยกาแฟ จานรอง แก้วกาแฟพลาสติกชีวภาพ
  • ขวดแก้ว เช่น ขวดเบียร์ ขวดซอส ขวดเครื่องดื่มชูกำลัง นำมารีไซเคิลใหม่ได้ ควรทิ้งลงถังขยะสีเหลือง หรือคัดแยกขายให้กับซาเล้ง หรือร้านซื้อของเก่า
  • เศษแก้วบางชนิดนำมารีไซเคิลได้ แต่บางชนิดก็ไม่ได้ โดยเศษแก้วที่จะนำมาหลอมหรือรีไซเคิลใหม่ ต้องมีคุณภาพสูง มีความบริสุทธิ์ และควรจะมีการคัดแยกประเภทของสีแก้ว
  • กระป๋องเบียร์ กระป๋องน้ำอัดลม เป็นขยะรีไซเคิล ควรทิ้งลงถังขยะสีเหลือง หรือแยกเพื่อขาย
  • ขวดน้ำพลาสติก ควรแยกประเภทแบบขุ่น-ใส ออกจากพลาสติกทั่วไปก่อนขาย เพื่อจะได้ราคาดีกว่า สะดวกต่อการนำไปรีไซเคิล
  • กระดาษทุกชนิดสามารถนำไปรีไซเคิลได้ เช่น ทำอักษรเบรลล์ ทำกระดาษขึ้นมาใหม่ แต่ต้องคัดแยกและรวบรวมให้ถูกวิธี สะอาด ไม่เปื้อน และไม่เปียกน้ำ
  • วัสดุเหลือใช้ คือ สิ่งของ เครื่องใช้ สินค้า ที่ผ่านการใช้งานแล้ว หรือหมดอายุ และไม่เป็นที่ต้องการใช้อีกต่อไป
  • กล่องกระดาษ เป็นขยะรีไซเคิล ควรทิ้งลงถังขยะสีเหลือง หรือสถานที่รับบริจาค หรือนำไปขายให้ร้านรับซื้อของเก่า ซาเล้ง โดยพับให้แบน เพื่อจัดเก็บและขนส่งสะดวก
  • ฝาขวดน้ำพลาสติก เป็นขยะรีไซเคิล ควรถอดแล้วแยกทิ้ง เพราะเป็นพลาสติกคนละชนิดกับขวดพลาสติก
  • ถุงปุ๋ย ไม่ใช่ขยะอินทรีย์ แต่เป็นขยะทั่วไปที่ทำมาจากพลาสติก และยังมีการปนเปื้อนสารเคมี ไม่คุ้มที่จะนำกลับมารีไซเคิลใหม่
  • ขวดแก้ว เป็นขยะที่สามารถนำไปรีไซเคิลเป็นขวดแก้วใหม่ซ้ำได้ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
  • กระป๋องอะลูมิเนียม สามารถรีไซเคิลวนกลับไปเป็นกระป๋องซ้ำได้หลายครั้ง และยังคงคุณสมบัติไว้ได้เหมือนเดิม
  • กระป๋องอะลูมิเนียม ก้นจะเว้า ไม่มีรอยเชื่อม ไม่ติดแม่เหล็ก และบีบด้วย 2 นิ้วได้ง่าย ส่วนกระป๋องเหล็ก ก้นจะแบน มีรอยเชื่อม ดูดติดแม่เหล็ก และบีบยาก ต้องออกแรง
  • หน้ากากอนามัยที่ใช้แล้วเป็นขยะติดเชื้อ ควรทิ้งลงในถังขยะอันตราย เพื่อหลีกเลี่ยงการสะสมและเป็นต้นตอของการแพร่เชื้อโรค ที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสุขอนามัยคนและสัตว์
  • กระดาษทิชชู เป็นขยะทั่วไป ย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่าในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ควรทิ้งลงถังขยะสีน้ำเงิน
  • ซองบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป เป็นขยะทั่วไป ย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่าในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ควรทิ้งลงถังขยะสีน้ำเงิน
  • ถุงพลาสติกบรรจุผงซักฟอก เป็นขยะทั่วไป ย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่าในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ควรทิ้งลงถังขยะสีน้ำเงิน
  • ซองกาแฟ เป็นขยะทั่วไป ย่อยสลายยาก ไม่คุ้มค่าในการนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ ควรทิ้งลงถังขยะสีน้ำเงิน
  • ขยะพลาสติกชีวภาพ ใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติได้ สามารถทิ้งในถังขยะสีเขียวเพื่อหมักรวมกับขยะอินทรีย์ หรือกำจัดด้วยการฝังกลบได้
  • ขวดแก้วทุกชนิดนำไปรีไซเคิลได้ เช่น ขวดเหล้ากลม-แบน ขวดเบียร์ ขวดน้ำปลา ขวดน้ำอัดลม ขวดไวน์ ขวดเครื่องดื่มชูกำลัง ขวดยา แต่ควรแยกสีก่อนนำไปขาย
  • ขยะพลาสติกชีวภาพ ย่อยสลายตามธรรมชาติได้ แต่ใช้เวลานาน ไม่คุ้มค่านำกลับมารีไซเคิล ควรทิ้งลงถังขยะสีน้ำเงิน

หมวด : การย่อยสลายตามธรรมชาติของขยะแต่ละประเภท

  • ผ้าอ้อมสำเร็จรูปใช้แล้วทิ้ง ใช้เวลาย่อยสลาย 500 ปี ควรเลี่ยงใช้ แนะใช้ผ้าอ้อมที่ย่อยสลายได้ง่ายกว่า เช่น เยื่อไม้ธรรมชาติ
  • เศษกระดาษ ใช้เวลาย่อยสลาย 2-5 เดือน แต่นำมารีไซเคิลได้ ควรคัดแยกก่อนทิ้ง เพื่อนำกลับไปใช้ประโยชน์จะดีที่สุด
  • หลอดพลาสติก ใช้เวลาย่อยสลาย 200 ปี เมื่อถูกทิ้งลงแหล่งน้ำต่าง ๆ จะแตกออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ ที่เรียกว่า ไมโครพลาสติก เป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ
  • เครื่องหนัง ใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติ 25-40 ปี
  • ผ้าฝ้าย ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติ 5 เดือน
  • ลังกระดาษลูกฟูก ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติ 2 เดือน
  • ขวดพลาสติก ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติ 100 ปี
  • สายเอ็น ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติ 600 ปี
  • พืช-ผัก ใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติ 5 วัน - 1 เดือน
  • กล่องนมเคลือบพลาสติก ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติ 5 ปี
  • ถ่านไฟฉาย ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติ 100 ปี
  • Plastics (พลาสติก) ผลิตจากน้ำมันปิโตรเลียม ใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติ 450 ปี ทำให้เพิ่มปริมาณขยะพลาสติก

หมวด : ปัญหาขยะในไทย และการกำจัดขยะผิดวิธี

  • ปัญหาขยะในไทย ส่วนหนึ่งเกิดจากการทิ้งขยะจำนวนมาก ไม่สามารถนำขยะไปใช้ประโยชน์ และกำจัดได้ทั้งหมด
  • การเผาขยะกลางแจ้ง เทกองบนพื้นดิน ทิ้งลงแม่น้ำหรือทะเล เป็นการกำจัดขยะผิดวิธี ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพคนและสัตว์ได้
  • มลพิษทางอากาศและน้ำเสีย ส่วนหนึ่งเกิดมาจากการกำจัดขยะผิดวิธี เช่น เผาขยะกลางแจ้ง ทิ้งขยะลงคลอง
  • หากกำจัดขยะด้วยการฝังกลบที่ผิดหลักวิชาการ จะทำให้มีน้ำชะขยะปนเปื้อนในดิน ส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศ
  • การกำจัดโฟมด้วยการเผาอย่างไม่ถูกวิธี ทำให้เกิดสารสไตรีน ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพ เช่น ทำให้เกิดอาการปวดหัว อ่อนเพลีย
  • การกำจัดขยะพลาสติก ไม่ควรเผากลางแจ้ง เพราะจะทำให้เกิดก๊าซไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ต้องใช้เทคโนโลยี และระบบควบคุมเตาเผาที่อุณหภูมิสูงกว่า 850 °C
  • การเผาไหม้พลาสติกประเภท PVC ที่ไม่สมบูรณ์ จะทำให้เกิดก๊าซไดออกซิน ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง และสามารถสะสมในร่างกาย ถ่ายทอดจากแม่ไปสู่ลูกได้ผ่านทางรก
  • สารไดออกซินและฟิวแรน เป็นมลพิษที่เกิดจากการเผาศพที่ไม่ได้มาตรฐาน เช่น เชื้อเพลิงเผาศพไม่มีคุณภาพ เผาที่อุณหภูมิน้อยกว่า 900 °C ไม่มีอุปกรณ์ป้องกันมลพิษ
  • ภาวะโลกร้อน เกิดจากการสะสมก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศ เกิดขึ้นตามธรรมชาติและพฤติกรรมของคน เช่น อุตสาหกรรม หรือการกำจัดขยะไม่ถูกต้อง
  • ก๊าซเรือนกระจก เกิดขึ้นจากธรรมชาติ และพฤติกรรมของคน เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง สารสังเคราะห์ในอุตสาหกรรม การย่อยสลายของซากสิ่งมีชีวิต หรืออินทรียวัตถุในดินที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน หรือจากภัยธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด
  • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน คลอโรฟลูออโรคาร์บอน และไนตรัสออกไซด์ มีผลทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก และส่งผลต่อภาวะโลกร้อน

หมวด : การจัดการขยะและประโยชน์ของการคัดแยกขยะ

  • ถ้ามีขยะอันตรายในบ้าน ต้องคัดแยกแล้วนำไปทิ้งลงถังขยะสีแดง หรือสถานที่ที่หน่วยงานรับผิดชอบกำหนดไว้ เลี่ยงการนำไปเผา ฝังดิน หรือทิ้งลงแม่น้ำ
  • การแยกขยะ ช่วยให้นำขยะกลับมาใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น เช่น ทำปุ๋ยหมัก แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้ เหลือขยะที่รอไปกำจัดทิ้งน้อยลง
  • ทุกคนช่วยกันลดขยะได้ เริ่มจากการคัดแยกขยะให้ถูกวิธี ทิ้งลงถังให้ถูกต้อง หรือนำกลับมาใช้ซ้ำ ใช้ใหม่
  • การนำขยะกลับไปใช้ประโยชน์ใหม่ช่วยลดปริมาณขยะได้ ยิ่งถ้าทุกคนช่วยกัน ปัญหาขยะก็จะหมดไป
  • การจัดการขยะที่ดีที่สุด คือ การคัดแยกขยะ ณ แหล่งกำเนิด เริ่มต้นที่ตัวบุคคล ครัวเรือน ไม่ใช่คัดแยก ณ สถานที่กำจัด
  • การนำขยะย่อยสลาย เช่น มูลสัตว์ ไปทำปุ๋ยอินทรีย์ น้ำหมัก หรือปุ๋ยชีวภาพ เป็นการนำขยะกลับไปใช้ใหม่
  • ใบไม้ ขี้เลื่อย หญ้า เป็นขยะอินทรีย์ สามารถนำมาทำปุ๋ยหมักได้ โดยการคัดแยกขยะก่อนนำไปทิ้ง
  • การจัดการขยะชุมชนมีหลายวิธี เช่น ลดปริมาณขยะ ณ แหล่งกำเนิด ใช้ซ้ำ นำมารีไซเคิล ทำปุ๋ยหมัก ไม่ควรเผาหรือทิ้งที่สาธารณะ
  • น้ำมันพืชเก่าที่เคยใช้แล้ว สามารถนำไปขาย เพื่อเอาไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงไบโอดีเซลต่อได้
  • ขวดแก้วที่แยกสีชา สีเขียว สีใส แล้วใส่กล่อง เป็นการป้องกันไม่ให้สกปรก แตก สะดวกต่อการขนส่ง นำไปรีไซเคิลต่อง่าย ทำให้ได้ราคาดีกว่า
  • การเผาขยะกลางแจ้ง กองทิ้งบนดิน นำไปทิ้งทะเล เป็นการกำจัดขยะผิดวิธี ทำให้เกิดมลพิษและปัญหาขยะเพิ่มขึ้น
  • วิธีแยกขยะกระป๋องเครื่องดื่มอะลูมิเนียม คือ เทน้ำทิ้ง บีบให้เล็ก ลดขนาดก่อนนำไปทิ้ง ช่วยให้รีไซเคิลได้ง่ายขึ้น
  • ขวดแก้วมีตำหนิ เช่น บิ่น แตก ชำรุด นำไปรีไซเคิลใหม่ได้ แต่ควรคัดแยกก่อนทิ้ง เพื่อนำไปหลอมเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ได้สะดวก
  • การนำขยะมารีไซเคิล หรือกลับมาใช้ใหม่ เป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม ช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ช่วยสร้างเศรษฐกิจที่แข็งแกร่ง ลดด้านใช้พลังงานที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ และช่วยสร้างรายได้จากการขายขยะรีไซเคิล
  • ขยะอันตรายไม่ควรกำจัดเอง เพราะอาจเกิดอันตรายได้ เช่น การนำไปเผาหรือฝัง แต่ควรแยกทิ้งให้ถูกต้อง กำจัดทิ้งโดยบริษัทที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
  • ผักตบชวา เป็นขยะอินทรีย์ สามารถนำไปทำปุ๋ยหมัก เพื่อลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด ด้วยการฝังกลบหรือเผาได้
  • การแยกขยะ ควรแยกตามประเภท ลักษณะ องค์ประกอบ ก่อนนำไปทิ้ง เพื่อให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ง่ายขึ้น
  • การใช้ปุ๋ยหมักที่ทำมาจากขยะอินทรีย์ ไม่เป็นอันตราย แต่เป็นการบำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์ มีสารอาหารไปบำรุงพืช ต้นไม้เพิ่มขึ้น

หมวด : พลาสติกที่นำกลับมารีไซเคิลได้

  • สัญลักษณ์รีไซเคิล หมายเลข 1 เป็นพลาสติก Polyethylene Terephthalate (PETE) เนื้อเหนียว ทนทานแรงกระแทก ป้องกันการแพร่ผ่านของก๊าซได้ดี
  • สัญลักษณ์รีไซเคิล หมายเลข 2 เป็นพลาสติก High-density Polyethylene (HDPE) มีความหนาแน่นสูง แข็งแรง ทนกรดและด่าง ป้องกันการแพร่ผ่านความชื้นดี
  • สัญลักษณ์รีไซเคิล หมายเลข 3 เป็นพลาสติก Polyvinyl Chloride (PVC) มีความแข็งแรงมาก ไอน้ำ อากาศซึมผ่านได้พอสมควร ป้องกันไขมันได้ดี
  • สัญลักษณ์รีไซเคิล หมายเลข 4 เป็นพลาสติก Low-density Polyethylene (LDPE) มีความโปร่งแสง ที่มีปริมาตรสูง แต่ความหนาแน่นต่ำ
  • สัญลักษณ์รีไซเคิล หมายเลข 5 เป็นพลาสติก Polypropylene (PP) มีน้ำหนักเบาที่สุด แต่แข็งแรง ทนทานต่อแรงกระแทก และความร้อนสูง
  • สัญลักษณ์รีไซเคิล หมายเลข 6 เป็นพลาสติก Polystyrene (PS) มีความโปร่งใส เปราะบาง ทนกรด-ด่าง ผลิตเป็นรูปต่าง ๆ ง่าย อากาศซึมผ่านได้
  • ขวดน้ำเปล่า ทำมาจากพลาสติก ประเภท Polyethylene Terephthalate (PETE) เนื้อเหนียว ทนทานแรงกระแทก ป้องกันการแพร่ผ่านของก๊าซได้ดี
  • ขวดแชมพู ทำมาจากพลาสติก ประเภท High-density Polyethylene (HDPE) ความหนาแน่นสูง แข็งแรง ทนกรด-ด่าง กันความชื้นดี รีไซเคิลได้
  • ขวดสบู่เหลว ทำมาจากพลาสติก ประเภท High-density Polyethylene (HDPE) ความหนาแน่นสูง แข็งแรง ทนกรด-ด่าง กันความชื้นดี รีไซเคิลได้
  • ขวดบรรจุนม ทำมาจากพลาสติก ประเภท High-density Polyethylene (HDPE) ความหนาแน่นสูง แข็งแรง ทนกรด-ด่าง กันความชื้นดี รีไซเคิลได้
  • ท่อน้ำ ทำมาจากพลาสติก ประเภท Polyvinyl Chloride (PVC) มีความแข็งแรงมาก ไอน้ำ-อากาศซึมผ่านได้พอสมควร แต่ป้องกันไขมันได้ดี รีไซเคิลได้
  • ฟิล์มห่ออาหาร ทำมาจากพลาสติก ประเภท Low-density Polyethylene (LDPE) มีความโปร่งแสง ที่มีปริมาตรสูง แต่ความหนาแน่นต่ำ รีไซเคิลได้
  • ขวดยา ทำมาจากพลาสติก ประเภท (Polypropylene : PP) มีน้ำหนักเบาที่สุด แต่แข็งแรง ทนทานต่อแรงกระแทก และความร้อนสูง รีไซเคิลได้
  • ถ้วยน้ำ ทำมาจากพลาสติก ประเภท (Polystyrene : PS) โปร่งใส เปราะบาง ทนต่อกรด-ด่าง ผลิตเป็นรูปต่าง ๆ ง่าย ไอน้ำ-อากาศซึมได้ รีไซเคิลได้
  • ขวดพลาสติกประเภท Polyethylene Terephthalate (PETE) นำรีไซเคิลเป็นขวดพลาสติก เส้นใยทำเสื้อ และถุงหูหิ้ว ได้

รู้ก่อนเล่น : Level 2

หมวด : พลาสติกที่นำกลับมารีไซเคิลได้

  • กล่องนม กล่องน้ำผลไม้ ซองขนม หลอดยาสีฟัน มีพลาสติก Multi-Layered Plastic ผสมกับวัสดุชนิดอื่น ซ่อนอยู่ในบรรจุภัณฑ์
  • ฝาขวดทำจากพลาสติกประเภท HDPE หรือ PP ส่วนขวดทำจากพลาสติก PETE และฉลากห่อขวดทำจากพลาสติก PVC
  • ขวดน้ำดื่ม ทำจากพลาสติกประเภท PETE ทนความร้อนไม่เกิน 70 °C หากมีอุณหภูมิสูงจะทำให้ขวดอ่อนตัว เสียรูปทรง อาจมีสารเคมีปนเปื้อนได้
  • บรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติกประเภท PP หรือมีสัญลักษณ์ Microwave Safe นำเข้าไมโครเวฟได้ เพราะทนความร้อนสูงถึง 220 °C
  • พลาสติก HDPE ทนความร้อนได้ถึง 100 °C ส่วน PETE ทนความร้อนได้ไม่เกิน 75 °C หากอุณหภูมิสูงไปกว่านี้จะทำให้ละลาย เสียรูปทรง และมีสารเคมีปนเปื้อนได้
  • ขวดที่ทำจากพลาสติกประเภท High-density Polyethylene (HDPE) หากทำความสะอาดอย่างถูกต้อง นำกลับมาใช้ซ้ำได้
  • Microbeads ในเครื่องสำอาง เช่น สครับล้างหน้า เป็นขยะพลาสติกรีไซเคิลไม่ได้ ซึ่งหน่วยงานรัฐประกาศลด-เลิก ในปี 2562
  • ถุงร้อนแบบใส ทำมาจากพลาสติกประเภท PP ทนความร้อน ความชื้น และป้องกันอากาศซึมผ่านได้ดีกว่า จึงช่วยเก็บและถนอมอาหารได้ดี
  • กล่องพลาสติกบรรจุอาหารแช่แข็งสำเร็จรูป ทำจากพลาสติกประเภท PETE สามารถแยกทิ้ง เพื่อนำกลับมารีไซเคิลได้
  • ถุงร้อน ขวดพลาสติก ทำจากพลาสติกที่รีไซเคิล นำกลับมาใช้ซ้ำได้ แต่ควรทำความสะอาดก่อน ป้องกันเชื้อโรคและสิ่งสกปรกตกค้าง
  • พลาสติกประเภท LDPE หรือสัญลักษณ์รีไซเคิลหมายเลข 4 ทนต่อความเย็น จึงสามารถนำมาบรรจุอาหารแช่ในช่องฟรีซ
  • Single Use Plastic คือ พลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้ง เช่น ถุงพลาสติก หลอดพลาสติก แก้วกาแฟพลาสติก อายุการใช้งานสั้น แต่ใช้เวลาย่อยสลายนาน
  • ถ้วยโยเกิร์ต ทำมาจากพลาสติกประเภท Polystyrene (PS) นำมารีไซเคิลใหม่เป็น ไม้บรรทัด ช้อนส้อมพลาสติก ถ้วย ชิ้นส่วนอุปกรณ์ไฟฟ้าได้
  • ผลิตภัณฑ์พลาสติกที่ระบุสัญลักษณ์ หรือประเภทพลาสติกบนบรรจุภัณฑ์ จะช่วยให้ผู้บริโภคคัดแยกก่อนทิ้งได้ถูกต้องและง่ายขึ้น
  • พลาสติกที่มีสัญลักษณ์เบอร์ 7 รีไซเคิล ใช้ซ้ำได้ แต่ต้องระวัง เพราะอาจมีสารเคมีปนเปื้อน เช่น สาร Bisphenol A ส่งผลต่อเซลล์สมอง ระบบสืบพันธุ์ได้
  • ขวดน้ำมันพืช ขวดน้ำพลาสติกใส ทำมาจากพลาสติกประเภท Polyethylene Terephthalate (PETE) รีไซเคิลได้
  • สัญลักษณ์รีไซเคิลทั้ง 2 แบบนี้ มีความหมายต่างกัน แบบไม่มีวงกลมล้อมกรอบ คือ นำไปรีไซเคิลได้ ส่วนแบบมีวงกลมล้อมกรอบ คือ ทำจากวัสดุรีไซเคิล
  • พลาสติกประเภท HDPE มีความหนาแน่นสูง นำมารีไซเคิลได้ เช่น ใช้ในการผลิตขวดนม ขวดเครื่องสำอาง ถุงพลาสติก ถังขยะ ถังบรรจุสารเคมี
  • ขวดน้ำพลาสติก สามารถนำมาเติมน้ำได้ แต่ควรล้างให้สะอาดก่อนนำกลับมาใช้ซ้ำ ป้องกันอันตรายที่มากับเชื้อโรค และสิ่งสกปรก
  • หากขวดพลาสติกมีสภาพที่แตกต่างไปจากเดิม ไม่ควรใช้ต่อ เพราะแสดงว่าพลาสติกเสื่อมสภาพการใช้งานแล้ว
  • การเติมน้ำร้อนในขวดที่ทำจากพลาสติกประเภท PETE สูงกว่า 70°C จะทำให้พลาสติกละลาย ขวดอ่อนตัว เสียรูปทรง และมีสารเคมีปนเปื้อนในน้ำดื่มได้
  • ไม่ควรนำขวดน้ำ ที่ทำจากพลาสติกประเภท PETE ไปแช่ไว้ในช่องฟรีซ เพราะไม่ทนต่อความเย็น จะทำให้ขวดน้ำเปราะและแตกได้
  • วิธีล้างขวดน้ำพลาสติก คือ ใช้ฟองน้ำแบบนิ่มถู แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด เพื่อป้องกันพลาสติกเสื่อมสภาพ และลดการปนเปื้อนของจุลินทรีย์
  • ขวดบรรจุน้ำยาทำความสะอาด ผลิตจากพลาสติกประเภท High-density Polyethylene (HDPE) นำไปรีไซเคิลได้
  • ถุงหูหิ้ว ไม่ควรนำมาใช้ใส่อาหารโดยตรง เพราะมีเม็ดพลาสติกรีไซเคิล และการผสมสี เมื่อโดนความร้อนทำให้โลหะหนักละลายปนเปื้อนอาหารได้
  • ขวดพลาสติกน้ำอัดลม ทำจากพลาสติก PETE มีความเหนียว ทนต่อแรงดันสูง ป้องกันไม่ให้อากาศเข้า-ออกได้ง่าย รีไซเคิลได้
  • พลาสติกประเภท HDPE มีความเหนียว ทนทาน ทนสารเคมี เช่น ขวดน้ำดื่มสีขาวขุ่น ขวดน้ำกลั่น หรือขวดใส่น้ำยาต่าง ๆ รีไซเคิลได้
  • ฟิล์มถนอมอาหาร หรือพลาสติกแรป ทำจากพลาสติก LDPE รีไซเคิลได้ แต่หากเปื้อนเศษอาหารรีไซเคิลไม่ได้ ต้องทำความสะอาดก่อน
  • ขยะพลาสติก เช่น ถุงพลาสติก รีไซเคิลเป็นน้ำมันไพโรไลซิส สามารถใช้ทดแทนน้ำมันเตาและดีเซลรอบต่ำได้
  • เสื้อกันฝน ทำจากพลาสติกประเภท Polyvinyl Chloride (PVC) สามารถนำไปรีไซเคิลใหม่เป็นท่อน้ำได้
  • ของเล่นเด็ก พลาสติกประเภท Polypropylene (PP) นำมารีไซเคิลใหม่ เป็นกระถางต้นไม้ กล่องพลาสติก ได้

หมวด : G-Green

  • Green Products คือ ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม เช่น รีไซเคิลจากของเหลือใช้ และลดปริมาณขยะให้เหลือน้อยที่สุด
  • สินค้า-บริการที่มีหรือแสดงฉลากเขียวกำกับไว้ เป็นการสื่อว่า สินค้านั้นส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อยกว่า เมื่อเทียบกับสินค้าชนิดเดียวกัน

หมวด : ไมโครพลาสติก

  • ไมโครพลาสติก ย่อยด้วยกระบวนการในร่างกายไม่ได้ หากสะสมอาจจะมีสารพิษเจือปน และส่งผลเสียต่อสุขภาพได้
  • การทิ้งขยะพลาสติกลงทะเล ทำให้เกิดปัญหาไมโครพลาสติก เข้าไปอยู่ในแพลงก์ตอน ปลา สัตว์น้ำ ส่งผลต่อระบบนิเวศ และคน
  • ไมโครพลาสติก คือ ขยะพลาสติกในน้ำที่เกิดการสลายตัวจนมีขนาดเล็ก 5 มิลลิเมตร จนถึงขนาดที่สายตามองไม่เห็น ในระดับ 1 นาโนเมตร

หมวด : พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic)

  • พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) หรือ พลาสติกชีวภาพย่อยสลายได้ ผลิตขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ ส่วนใหญ่เป็นพืช ช่วยลดปัญหามลพิษในสิ่งแวดล้อม
  • พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) สามารถย่อยสลายได้ ทั้งทางชีวภาพ แสง และปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
  • Bioplastics (พลาสติกชีวภาพ) ใช้ระยะเวลาในการย่อยสลายตามธรรมชาติภายใน 6 เดือน

หมวด : 3R

  • Reduce คือ การลดการใช้ตั้งแต่ต้นทาง เช่น คิดก่อนซื้อ ลดใช้ของฟุ่มเฟือย เพื่อให้เกิดขยะน้อยที่สุด
  • Reuse คือ การใช้ซ้ำ หรือนำกลับมาใช้ใหม่ โดยไม่ต้องแปรรูป เช่น ใช้ถุงพลาสติกช้อปปิ้งมาใส่ขยะ
  • Recycle คือ การนำของเหลือใช้ไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ
  • สเตนเลส แก้วซิลิโคน วัสดุจากธรรมชาติ เช่น ไม้ไผ่ นำมาใช้แทนหลอดพลาสติก และนำกลับมาใช้ซ้ำได้
  • การบริจาคเสื้อผ้าช่วยลดขยะได้ ตามหลักการ Reuse คือ การส่งของเหลือใช้ให้กับคนที่ขาดแคลน หรือองค์กร เพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ
  • กระดาษที่ใช้แล้วทั้ง 2 หน้า นำไปพิมพ์อักษรเบรลล์ ทำหนังสือให้ผู้พิการทางสายตา และรีไซเคิลเป็นกระดาษขึ้นมาใหม่ได้
  • ข้อดีของการเลือกซื้อสินค้าชนิดเติม คือ ประหยัดทรัพยากร ใช้บรรจุภัณฑ์น้อยชิ้นกว่า ทำให้เกิดขยะน้อย ช่วยประหยัดเงินได้
  • การนำขยะไปแปรรูป เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ คือ Recycle ส่วน Reuse คือ การนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้ว กลับมาใช้ซ้ำให้คุ้มค่า
  • การนำขยะมาแปรรูปเพื่อทำเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ คือ Recycle โดยขยะที่นำมารีไซเคิลได้ เช่น กระดาษ ขวดแก้ว ขวดพลาสติก
  • การลดการใช้ทรัพยากรให้เหลือเท่าที่จำเป็น เช่น การใช้ปิ่นโต กล่องใส่อาหาร เพื่อลดขยะพลาสติก ในหลัก 3R คือ Reduce
  • การใช้ถ่านไฟฉายแบบชาร์จใหม่ เป็นการ Reuse เพราะเลือกใช้สินค้าชนิดชาร์จแทนซื้อใหม่ ช่วยลดขยะ ประหยัดเงิน
  • การใช้กล่องข้าว ที่ใช้ซ้ำแทนกล่องพลาสติกที่ใช้ได้ครั้งเดียว ในหลัก 3R คือ Reduce
  • วิธีช่วยลดถุงพลาสติก คือ นำมาใช้ซ้ำ ใช้วัสดุทดแทน และการปฏิเสธไม่รับถุงพลาสติกเมื่อซื้อสินค้า
  • 3R คือ Reduce (ลดการใช้) Reuse (ใช้ซ้ำ) และ Recycle (นำกลับมาใช้ใหม่) ถ้านำหลัก 3R จะช่วยลดปริมาณขยะได้
  • การนำขวดพลาสติกมาทำแจกันดอกไม้ เป็นการ Reuse หรือใช้ซ้ำ ส่วน Recycle คือ การนำขยะไปแปรสภาพเป็นวัสดุให้นำกลับมาใช้ใหม่
  • ถุงพลาสติก เป็นขยะรีไซเคิลได้ โดยนำไปทำความสะอาด ตากให้แห้ง คัดแยกก่อนทิ้ง แล้วส่งต่อให้โรงงานรีไซเคิลเม็ดพลาสติกผลิตเป็นชิ้นใหม่
  • การนำขวดน้ำ หรือขยะอื่น ๆ ที่ยังใช้ได้อยู่ กลับมาใช้ใหม่ คงสภาพเดิมไว้ ไม่ได้ผ่านการแปรรูป เรียกว่า การ Reuse
  • สามารถใช้ขวดแก้วแทนขวดพลาสติกได้ แต่ควรทำความสะอาดก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง
  • ธนาคารขยะ คือ การซื้อ-ขายขยะรีไซเคิล มีระบบฝาก-ถอนเงินให้สมาชิก ส่วนขยะที่รวมได้จะถูกนำไปขายต่อ
  • การนำอาหารที่กินไม่หมด เก็บไว้กินมื้อถัดไป ถือเป็นการ Reuse เพราะช่วยลดขยะเศษอาหาร และไม่กินทิ้งกินขว้าง
  • การนำแก้วส่วนตัวไปซื้อกาแฟ เป็นการลดขยะด้วยการ Reduce หรือลดการใช้วัสดุที่ก่อมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม
  • เอกสารเก่าในออฟฟิศหรือที่บ้าน เป็นขยะรีไซเคิล หากไม่ใช้แล้วควรคัดแยกไปขาย หรือทิ้งในถังขยะสีเหลือง
  • การส่งอีเมลงาน แทนการใช้เอกสารในออฟฟิศ ช่วยลดขยะด้วยวิธี Reduce ตามหลัก 3R
  • ปฏิทินเก่าสามารถนำไปบริจาค เพื่อทำอักษรเบรลล์ สำหรับผู้พิการทางสายตา ถือเป็นวิธีลดขยะแบบ Recycle
  • การใช้ผ้าเช็ดหน้า หรือผ้าเช็ดมือ เป็นการลดขยะด้วยวิธี Reuse เพราะซักแล้วนำกลับมาใช้ซ้ำได้
  • กินอาหารหมด จะลดปริมาณขยะเศษอาหาร อีกหนึ่งต้นเหตุที่ทำให้เกิดก๊าซมีเทน ที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อน
  • การนำของในบ้านที่ชำรุด มาซ่อมแซมให้กลับมาใช้ได้อีกครั้ง แทนการทิ้งแล้วซื้อใหม่ เป็นการช่วยลดขยะตามหลัก Reuse
  • การซื้อถุงผ้ามาใช้แทนถุงพลาสติก นำกล่องข้าวพลาสติกมาใช้ใส่อาหาร นำแก้วน้ำส่วนตัวไปใช้ใส่เครื่องดื่ม เป็นการลดขยะตามหลัก Reuse
  • ขยะอินทรีย์ นำกลับมาใช้ใหม่ หรือรีไซเคิลเป็นปุ๋ยหมัก เป็นอาหารสัตว์ ถือเป็นวิธีการ Recycle ตามหลัก 3R
  • กระดาษที่ใช้แล้ว ถ้าเรานำไปขาย จะถูกคัดแยกและส่งกลับ เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล นำมาผลิตเป็นกระดาษใหม่ หรืออักษรเบรลล์
  • กินกาแฟไม่หมด และเน่าเสีย ก่อนทิ้งควรเทกาแฟทิ้งในถังขยะอินทรีย์ ส่วนฝาครอบ หลอดและแก้วทิ้งในถังขยะทั่วไป
  • การ DIY ถุงผ้าใช้เองจากของที่กำลังจะกลายเป็นขยะ เช่น เสื้อผ้าเก่า กระสอบพลาสติก ไวนิล ฯลฯ เป็นการลดขยะด้วยวิธีการ Recycle
  • การสแกนคำทำนายทาง QR Code เป็นการลดปริมาณขยะด้วยวิธีการ Reduce คือ การใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ไม่ใช่ Recycle
  • การหยิบกระดาษทิชชูแค่พอใช้ต่อการใช้งาน คือ วิธีการ Reduce ใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ช่วยลดปริมาณขยะได้
  • การใช้ถุงผ้าแทนถุงหูหิ้วพลาสติก ช่วยลดขยะ เป็นวิธีการ Reduce ด้วยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า
  • การวางแผนก่อนซื้อ หรือซื้อของที่จำเป็น ช่วยลดการซื้อของฟุ่มเฟือยได้ และยังเป็นการลดปริมาณขยะที่จะเกิดขึ้นตามหลัก Reduce

หมวด : ความหมาย ประเภทขยะ และสีถังขยะ

  • สารพิษในถ่านไฟฉาย คือ แมงกานีส ถ้าเข้าสู่ร่างกายจะทำให้ปวดหัว อ่อนเพลีย ประสาทหลอน ตะคริวที่แขน ขา สมองสับสน
  • หน้ากากอนามัยใช้แล้ว เป็นขยะอันตราย ควรแยกใส่ถุง เขียนให้ชัดว่าเป็นขยะติดเชื้อ ก่อนทิ้งถังขยะสีแดง
  • แบตเตอรี่โทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นขยะอันตราย ควรทิ้งในถังขยะสีแดง
  • หลอดกาแฟ ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ ควรทิ้งในถังขยะสีน้ำเงิน
  • ถ่านไฟฉาย เป็นขยะอันตราย ควรทิ้งในถังขยะสีแดง
  • เปลือกไข่ สามารถย่อยสลายได้ เป็นขยะอินทรีย์ ควรทิ้งในถังขยะสีเขียว
  • เศษอาหาร เป็นขยะอินทรีย์ ย่อยสลายง่าย สามารถนำมาหมักทำปุ๋ยได้ และควรทิ้งในถังขยะสีเขียว
  • ยาสามัญประจำบ้านที่หมดอายุ ถือว่าเป็นขยะอันตราย ควรทิ้งในถังขยะสีแดง
  • หลอดฟลูออเรสเซนต์ มีสารปรอท เป็นขยะอันตราย ไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ซ้ำอีก ต้องคัดแยกจากขยะอื่น ๆ
  • Power Bank เป็นอันตราย ควรทิ้งในถังขยะสีแดง หรือถังขยะที่มีสัญลักษณ์หัวกะโหลกไขว้
  • ปากกาเคมี เป็นขยะอันตราย ควรทิ้งในถังขยะสีแดง หรือถังขยะที่มีสัญลักษณ์หัวกะโหลกไขว้
  • ถุงน้ำชาพลาสติก เป็นขยะทั่วไป ไม่นำกลับมาใช้ใหม่ หรือย่อยสลายได้เร็วตามวิธีธรรมชาติ ควรทิ้งในถังขยะสีน้ำเงิน
  • ผ้าอนามัยใช้แล้ว เป็นขยะติดเชื้อ จัดอยู่ในประเภทขยะอันตราย ควรทิ้งถังขยะสีแดง
  • ผ้าอ้อมเด็กแบบพลาสติกที่ใช้แล้ว เป็นขยะติดเชื้อ ควรทิ้งในถังขยะอันตราย หรือถังขยะสีแดง
  • ยาหมดอายุ เป็นขยะอันตราย เพราะมีองค์ประกอบทางเคมี ไม่ควรทิ้งรวมกับขยะชนิดอื่น
  • โซลาร์เซลล์ เป็นขยะอันตราย หากต้องการกำจัดควรแจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
  • กระดูกสัตว์ เป็นขยะอินทรีย์ ย่อยสลายเองตามธรรมชาติ สามารถนำมาทำปุ๋ยหมักได้ ส่วน กระดาษทิชชู วารสาร เป็นขยะรีไซเคิล
  • กระป๋องกาแฟ ขันน้ำ ตะแกรง เป็นขยะรีไซเคิล สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้
  • กระป๋องสเปรย์ เป็นขยะอันตราย ต้องคัดแยกแล้วนำไปทิ้งลงถังขยะสีแดง หรือสถานที่ที่หน่วยงานรับผิดชอบกำหนดไว้

หมวด : การย่อยสลายตามธรรมชาติของขยะแต่ละประเภท

  • ถุงพลาสติก ใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติ 450 ปี
  • เปลือกส้ม ใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติ 6 เดือน
  • ถ้วยกระดาษเคลือบ ใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติ 5 ปี
  • ก้นกรองบุหรี่ ใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติ 12 ปี
  • รองเท้าหนัง ใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติ 25-40 ปี
  • กระป๋องอะลูมิเนียม ใช้เวลาย่อยสลายตามธรรมชาติ 80-100 ปี

รู้ก่อนเล่น : Level 3

หมวด : พลังงานทดแทน

  • พลังงานทดแทน คือ พลังงานที่นำมาใช้แทนน้ำมันเชื้อเพลิง มี 2 ประเภท คือ พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป และพลังงานหมุนเวียน
  • พลังงานชีวมวล มาจากสารอินทรีย์ หรือวัสดุที่มาจากการเกษตร เช่น ซังข้าวโพด ฟางข้าว แกลบ
  • พลังงานทดแทน คือ พลังงานที่เราเอามาใช้เพื่อทดแทนน้ำมัน แบ่งเป็น 1. พลังงานสิ้นเปลือง หรือพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป 2. พลังงานหมุนเวียน ในส่วนของ ขยะ ถือเป็นพลังงานหมุนเวียน เพราะเกิดขึ้นทุกวัน สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก
  • ซังข้าวโพด สามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับโรงไฟฟ้าชีวมวลได้
  • ก๊าซชีวมวล คือ การนำของเหลือใช้ทางการเกษตรไปเผา เพื่อให้ได้ก๊าซมาใช้ในกระบวนการผลิตไฟฟ้า ลดขยะที่ต้องนำไปกำจัดและทดแทนพลังงานจากฟอสซิลที่มีอยู่จำกัด

หมวด : เตาเผาขยะ

  • การกำจัดขยะโดยใช้เตาเผาแบบตะกรับ สามารถนำความร้อน มาใช้ในการผลิตไอน้ำหรือผลิตกระแสไฟฟ้าได้
  • เปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน ทำได้โดย 1. ขยะที่เผาไหม้ได้ ผ่านกระบวนการทางความร้อนแล้วแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า 2. ขยะอินทรีย์ สามารถย่อยสลายด้วยกระบวนการชีวภาพ ได้ก๊าซชีวภาพซึ่งเป็นก๊าซเชื้อเพลิง ใช้ในเครื่องยนต์ผลิตไฟฟ้า 3. ขยะส่วนที่เผาไหม้ได้ สามารถผลิตเป็นเชื้อเพลิงขยะ (RDF) ได้ด้วยกระบวนการเชิงกล
  • ขยะที่นำมาผลิตไฟฟ้า เป็นขยะที่มาจากหลายแห่ง ทั้งชุมชน บ้านเรือน ร้านค้า สถานประกอบการต่าง ๆ
  • เตาเผาแบบตะกรับเคลื่อนที่ สามารถกำจัดขยะที่มีความหลากหลายได้มากกว่าเตาเผาแบบอื่น ๆ ยกเว้น ขยะจากการก่อสร้าง เช่น เศษปูน อิฐ หรือขยะชิ้นใหญ่ เช่น โต๊ะ เตียง ที่ต้องนำไปย่อยขนาดก่อน
  • การกำจัดขยะด้วยกระบวนการทางความร้อน หรือ เตาเผา ช่วยทำให้ปริมาณขยะที่จะนำไปฝังกลบลดลง
  • ส่วนที่เหลือจากการเผาขยะ เช่น เถ้าหนัก หากวิเคราะห์แล้วว่าไม่มีโลหะหนักหรือสารพิษเจือปน ก็สามารถนำไปใช้ในการก่อสร้างได้ ยกเว้น เถ้าลอย ที่ต้องดำเนินการตามกฎหมายโรงงานอุตสาหกรรม
  • การกำจัดขยะด้วยเตาเผาระบบปิดที่อุณหภูมิ 850 °C ป้องกันการเกิดสารไดออกซิน ที่เป็นสารพิษก่อมะเร็งได้

หมวด : เทคโนโลยีชีวภาพ

  • การกำจัดขยะด้วยระบบชีวภาพหรือทำปุ๋ยหมัก สามารถทำได้ 2 วิธี คือ การย่อยสลายแบบใช้ออกซิเจน และแบบไม่ใช้ออกซิเจน
  • การทำปุ๋ยหมัก คือ กำจัดขยะด้วยระบบชีวภาพแบบใช้ออกซิเจน โดยจุลินทรีย์จะย่อยสลายวัสดุ หรือขยะ ให้เป็นสารปรับปรุงดิน
  • ปุ๋ยและก๊าซชีวภาพ คือ ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการใช้จุลินทรีย์มีชีวิตโดยไม่ต้องใช้ออกซิเจน ช่วยย่อยขยะกลายเป็นแร่ธาตุ แต่มีข้อจำกัด คือ ได้ก๊าซที่มีกลิ่นเหม็น คุณภาพปุ๋ยต่ำ
  • ก๊าซชีวภาพ จากการย่อยสลายสารอินทรีย์แบบไร้ออกซิเจน มีองค์ประกอบคือ ก๊าซมีเทน 50-70% ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 30-50% และอื่น ๆ เล็กน้อย
  • ก๊าซที่ได้จากการกำจัดขยะ ด้วยระบบหมักไร้อากาศ สามารถนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในการหุงต้มและผลิตไฟฟ้าได้
  • ก๊าซชีวภาพ คือ ก๊าซที่ได้จากของเสีย เช่น มูลสัตว์ ขยะจากการเกษตร ที่นำมาหมัก ใช้แทนก๊าซหุงต้มหรือเชื้อเพลิงของรถยนต์ เช่น NGV

หมวด : เทคโนโลยีเชื้อเพลิงขยะ

  • เทคโนโลยีการผลิตเชื้อเพลิงขยะ เป็นการคัดแยกเอาเฉพาะขยะที่เผาไหม้ได้มาปรับสภาพ เช่น ย่อยขนาด ลดความชื้น เพื่อให้มีคุณสมบัติที่จะเป็นเชื้อเพลิงที่มีค่าความร้อนสม่ำเสมอ เพื่อใช้แทนเชื้อเพลิงอย่างอื่น สะดวกในการขนส่ง และอัดขยะเชื้อเพลิงนี้ให้เป็นแท่งหรือเม็ดได้
  • ขยะแห้งที่เผาไหม้ได้ เป็นขยะเชื้อเพลิงชนิดหนึ่ง ถ้านำมาผ่านกระบวนการ ปรับเปลี่ยนองค์ประกอบต่าง ๆ จะทำให้มีคุณภาพในการผลิตพลังงานไฟฟ้าดีขึ้น

หมวด : ประโยชน์การสร้างโรงไฟฟ้าขยะ

  • การใช้เทคโนโลยีกำจัดขยะที่เหมาะสม ทำให้เกิดผลพลอยได้ เช่น ไฟฟ้า ก๊าซชีวภาพ ขยะเชื้อเพลิง เป็นการนำขยะมาใช้ประโยชน์ให้คุ้มค่า
  • การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ ช่วยนำขยะกลับมาใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน และความยั่งยืนทางพลังงาน

หมวด : หลุมฝังกลบขยะในไทย

  • หลุมฝังกลบที่ฝังกลบขยะเต็มพื้นที่แล้ว สามารถพัฒนาเป็นสวนสาธารณะ สนามกีฬา หรือพื้นที่เลี้ยงสัตว์ได้
  • หลุมฝังกลบที่ใช้รองรับขยะจากในกรุงเทพฯ อยู่ที่ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา และ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม
  • ก๊าซมีเทน เกิดขึ้นจากการย่อยสลายของขยะอินทรีย์ที่ถูกฝังกลบ ซึ่งระบบฝังกลบที่ดีจะต้องรวบรวมก๊าซมีเทนที่เกิดขึ้นแล้วนำไปใช้ประโยชน์ หรืออย่างน้อยต้องเผาทิ้งเพื่อไม่ให้กลายเป็นก๊าซเรือนกระจก

หมวด : ปัญหา และการจัดการขยะ

  • การเทขยะแล้วกองทิ้งไว้นาน ๆ ทำให้เกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ที่จะส่งกลิ่นเหม็น และคาร์บอนไดออกไซด์ ที่เกิดจากการทำงานของจุลินทรีย์
  • การกำจัดขยะด้วยการฝังกลบ ทำให้เกิดปัญหา เช่น มีกลิ่นเหม็น มีฝุ่น ขยะปลิวฟุ้งกระจาย และเป็นแหล่งพาหะนำโรค
  • หากหายใจรับสารสไตรีนเข้าร่างกาย จะทำให้ปวดหัว อ่อนเพลีย คลื่นไส้ หากได้รับปริมาณมากอาจชักและเสียชีวิต
  • วิธีช่วยลดขยะอันตราย คือ คิดก่อนซื้อ ใช้ให้คุ้ม ซ่อมแซมเมื่อชำรุด นำไปคัดแยกแล้วนำไปทิ้งตามจุดที่กำหนด
  • ประโยชน์ของการจัดการขยะโดยนำไปผลิตพลังงาน เช่น ช่วยลดขยะ ลดการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และได้พลังงานสะอาดใช้
  • ของเหลือใช้จากการเกษตร สามารถนำไปทำปุ๋ยหมัก อาหารเลี้ยงสัตว์ และผลิตพลังงานได้
  • การกำจัดขยะด้วยเตาเผาขยะที่ได้มาตรฐาน จะช่วยลดก๊าซพิษ ลดขยะ อย่างมีประสิทธิภาพ และป้องกันกลิ่นเหม็นรบกวนได้
  • การคัดแยกขยะช่วยลดปริมาณขยะที่ต้องนำไปกำจัด ได้พลังงานไฟฟ้ามาใช้ ช่วยลดมลพิษ และรักษาสิ่งแวดล้อม
  • ชุมชนจัดกิจกรรมส่งเสริมการนำขยะมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้ เช่น ธนาคารขยะ ขยะแลกสิ่งของ และมีตลาดของมือสอง
  • วิธีกำจัดขยะพลาสติกที่ดีที่สุดคือ คัดแยกก่อนทิ้ง แล้วนำไปรีไซเคิลใหม่ เพราะขยะพลาสติกย่อยสลายยาก
  • น้ำชะขยะที่เกิดจากการฝังกลบไม่ถูกหลักวิชาการ ทำให้เกิดปัญหาดินเสื่อมสภาพ มีสารพิษปนเปื้อน และส่งกลิ่นเหม็น
  • ภาชนะที่บรรจุน้ำยาทำความสะอาด มีกรด ด่าง และแอมโมเนีย เป็นขยะอันตราย ควรทิ้งที่ถังขยะสีแดง หลีกเลี่ยงการนำไปเผา ฝังดิน ทิ้งลงแม่น้ำ
  • วิธีกำจัดขยะด้วยการฝังกลบ มีข้อจำกัดคือ พื้นที่หายาก ก๊าซเกิดและหมดไว รวมถึงอาจมีน้ำชะปนเปื้อนดิน
  • หลอดฟลูออเรสเซนต์ มีปรอท บัลลาสต์ มีสารพีซีบี เป็นขยะอันตราย ควรทิ้งที่ถังขยะสีแดง หลีกเลี่ยงการนำไปเผา ฝังดิน ทิ้งลงแม่น้ำ
  • ภาชนะบรรจุน้ำมันเครื่อง มีสารไฮโดรคาร์บอน เป็นขยะอันตราย ควรทิ้งที่ถังขยะสีแดง หลีกเลี่ยงการนำไปเผา ฝังดิน ทิ้งลงแม่น้ำ
  • กระป๋องสีทินเนอร์ มีสารทำละลาย เป็นขยะอันตราย ควรทิ้งที่ถังขยะสีแดง หลีกเลี่ยงการนำไปเผา ฝังดิน ทิ้งลงแม่น้ำ
  • วิธีการเลือกใช้สินค้าที่ถูกต้องให้เลือกซื้อหรือเลือกใช้เท่าที่จำเป็น โดยใช้สินค้าฉลากเขียว สินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือสินค้าที่ใช้ซ้ำใหม่ได้ เช่น ถ่านไฟฉายที่ชาร์จใหม่ได้
  • วิธีการจัดการขยะในบ้านเรือนที่ถูกต้อง คือ ขยะรีไซเคิล ควรแยกไว้ขายหรือนำไปส่งคืนร้านตัวแทนจำหน่าย ส่วนขยะอินทรีย์ แยกทำปุ๋ยบำรุงต้นไม้ได้ ขณะที่ขยะอันตรายควรแยกทิ้ง ไม่ควรทิ้งรวมกับขยะอื่น ๆ
  • ปัญหาที่ทำให้ขยะพลาสติกมีปริมาณเพิ่มมาก สาเหตุเพราะผู้บริโภคขาดจิตสำนึกในการคัดแยกขยะ คนมักง่ายหรือขี้เกียจ รวมถึงขาดการรวบรวมจัดเก็บขยะอย่างเป็นระบบ ทั้ง พนักงานเก็บขยะ ซาเล้ง ไม่คัดแยกขยะให้ถูกต้อง เป็นต้น

หมวด : พลังงานทดแทน

  • ขยะ เป็นพลังงานทดแทน สามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก
  • ลม ชีวมวล แสงอาทิตย์ เป็นแหล่งพลังงานที่ใช้แล้วสามารถหมุนเวียนมาใช้ได้อีก หรือที่เรียกว่า พลังงานหมุนเวียน
  • ถ่านหิน ก๊าซธรรมชาติ น้ำมัน เป็นพลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ส่วน น้ำ เป็นพลังงานหมุนเวียน นำมาใช้ได้อีก
  • ปัจจุบันไทยนำเข้าไฟฟ้าจากประเทศลาวและมาเลเซีย เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ
  • ฟอสซิล เกิดจากการทับถมของซากพืช-ซากสัตว์หลายล้านปี แล้วกลายเป็นแหล่งพลังงาน
  • ข้อจำกัดของพลังงานจากฟอสซิล คือ พลังงานที่ใช้แล้วหมดไป ไม่สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้
  • อุปกรณ์ช่วยเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์เป็นไฟฟ้า เรียกว่า โซลาร์เซลล์ (Solar Cell)

หมวด : Waste to Energy เปลี่ยนขยะเป็นพลังงาน

  • พลาสติก กระดาษ หนังสือพิมพ์ สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานไฟฟ้าได้
  • วัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร ทั้งซังข้าวโพด ฟางข้าว แกลบ สามารถนำมาผลิตเป็นพลังงานได้
  • ขวดแก้ว ควรมีการคัดแยกก่อนทิ้ง เพราะเป็นขยะเผาไม่ได้ และไม่เหมาะที่จะนำมาทำขยะเชื้อเพลิง
  • การคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เป็นวิธีจัดการขยะที่ดี ทำให้การผลิตพลังงานจากขยะได้ประสิทธิภาพและคุ้มค่าที่สุด
  • ข้อดีของการจัดการขยะด้วยการนำไปผลิตไฟฟ้า คือ ลดปัญหาการกำจัดขยะ และลดภาวะโลกร้อน
  • การนำขยะกลับมาใช้เป็นพลังงาน แปรรูปได้หลากหลาย ทั้งความร้อน ก๊าซ น้ำมัน และไฟฟ้า ด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  • พื้นที่ที่ไม่คัดแยกขยะ เหมาะกับเทคโนโลยีความร้อน เช่น เตาเผาขยะ เพราะช่วยกำจัดขยะปริมาณมากและหลากชนิดได้

หมวด : เทคโนโลยีความร้อน - เตาเผาขยะ

  • การเผาขยะพลาสติกควรใช้อุณหภูมิสูงกว่า 850 °C ช่วยป้องกันไม่ให้เกิดสารไดออกซินได้
  • หากเผาขยะพลาสติกโดยไม่มีการควบคุมความร้อน ทำให้เกิดสารไดออกซินที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้
  • สารไดออกซิน ส่งผลต่อร่างกาย เช่น ระบบสืบพันธุ์ ฮอร์โมน เป็นสารก่อมะเร็ง อันตรายกับเด็กในครรภ์อาจทำให้พิการได้
  • การกำจัดขยะด้วยเตาเผามีข้อดี เช่น กำจัดขยะได้เร็ว ลดขยะได้ปริมาณมาก เหลือกากน้อย มีพลังงานผลิตไฟฟ้า
  • เตาเผาแบบตะกรับเคลื่อนที่ มีข้อดีคือ สามารถกำจัดขยะที่มีความหลากหลายได้มากกว่าเตาเผาแบบอื่น ๆ จึงเป็นที่นิยมใช้ในการกำจัดขยะทั่วโลก
  • การเผาขยะในโรงไฟฟ้าขยะที่มีระบบบำบัดที่ดี จะช่วยป้องกันฝุ่น ควัน กลิ่นเหม็น รวมถึงสารพิษที่เป็นอันตรายได้
  • เทคโนโลยีเตาเผาขยะเป็นการนำความร้อนที่ได้ไปใช้ขับเคลื่อนเครื่องกำเนิดเพื่อผลิตไฟฟ้า
  • การกำจัดขยะด้วยเทคโนโลยีเตาเผา ช่วยลดขยะได้มากถึง 70-90%

หมวด : เทคโนโลยีความร้อน - Pyrolysis

  • เทคโนโลยี Pyrolysis ช่วยเปลี่ยนขยะพลาสติก เช่น ขวดน้ำดื่ม ให้เป็นน้ำมันได้
  • น้ำมันที่ได้จากการกำจัดขยะพลาสติกด้วยเทคโนโลยี Pyrolysis หลังการกลั่น คือ น้ำมันเตา น้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล
  • ขยะพลาสติกมีสารประกอบไฮโดรคาร์บอนชนิดเดียวกับน้ำมัน จึงสามารถผลิตเป็นน้ำมันได้ แต่คุณภาพที่ได้ต่างกัน
  • ถุงก๊อบแก๊บ ถุงร้อน ขวดพลาสติก สามารถนำไปกำจัดและแปรรูปเป็นน้ำมันด้วยเทคโนโลยี Pyrolysis ได้
  • เทคโนโลยี Pyrolysis เป็นการใช้ความร้อนกำจัดขยะพลาสติก ได้พลังงานเป็นผลพลอยได้ เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ

หมวด : เทคโนโลยีความร้อน - Gascification

  • พลังงานที่ได้จากการจัดการขยะด้วยเทคโนโลยี Gasification คือ ก๊าซเชื้อเพลิง สามารถนำไปใช้ผลิตไฟฟ้าได้
  • Gasification เป็นการเปลี่ยนขยะให้เป็นพลังงาน โดยผ่านกระบวนการทางความร้อนแล้วแปลงเป็นพลังงานไฟฟ้า

หมวด : เทคโนโลยีชีวภาพ

  • กากอุตสาหกรรม ขยะชุมชน วัสดุเหลือใช้และผลผลิตจากการเกษตร เป็นพลังงานชีวมวล ยกเว้นขยะติดเชื้อ เป็นขยะอันตราย
  • การนำขยะอินทรีย์ไปหมักแบบไร้อากาศ เพื่อผลิตพลังงาน ช่วยลดก๊าซมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ ที่เป็นก๊าซเรือนกระจก
  • การจัดการขยะด้วยเทคโนโลยีการหมักแบบไร้อากาศ ช่วยลดขยะอินทรีย์ มีเชื้อเพลิงผลิตพลังงาน และปุ๋ยไว้บำรุงดิน
  • ก๊าซชีวภาพ เป็นพลังงานที่ได้จากขยะอินทรีย์ เช่น มูลสัตว์ แกลบ ฟางข้าว ชานอ้อย
  • ก๊าซชีวภาพเกิดจาก ก๊าซมีเทน คาร์บอนไดออกไซด์ เป็นส่วนประกอบหลัก ส่วนก๊าซอื่น ๆ ก็จะมีปะปนเล็กน้อย
  • ก๊าซชีวภาพ เป็นพลังงานที่ได้จากการจัดการขยะด้วยเทคโนโลยีหมักแบบไร้ออกซิเจน แล้วนำก๊าซที่ได้ไปใช้ผลิตพลังงาน
  • ประโยชน์ที่ได้จากพลังงานชีวภาพ เช่น นำไปผลิตไฟฟ้า ก๊าซหุงต้ม และใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับเครื่องยนต์
  • พลังงานชีวภาพมีข้อดี คือ ช่วยลดขยะในบ้าน เพิ่มพลังงานทดแทน และเป็นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า
  • จุลินทรีย์เป็นตัวกลางช่วยย่อยสลายขยะอินทรีย์ ให้เปลี่ยนเป็นก๊าซชีวภาพได้
  • กากที่ได้จากการจัดการขยะด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ คือ ปุ๋ยน้ำและปุ๋ยแห้ง ใช้บำรุงดินและต้นไม้ได้

หมวด : ไบโอออยล์

  • ไบโอออยล์ เป็นพลังงานที่สามารถผลิตได้จากขยะอินทรีย์ ประเภทพืชจากการเกษตร เช่น ฟางข้าว อ้อย ขี้เลื่อย แกลบ
  • ไบโอออยล์ สามารถแปรรูปเป็นน้ำมัน ไฟฟ้า สารเคมี แต่ต้องผ่านกระบวนการที่เหมาะสมก่อน จึงจะนำไปใช้ประโยชน์ได้

หมวด : เทคโนโลยีเชื้อเพลิงขยะ

  • เศษผ้า เป็นขยะที่เผาไหม้ได้ เหมาะนำไปเป็นเชื้อเพลิงขยะ ส่วนขวดแก้ว เศษหิน และเศษเหล็ก เป็นขยะที่เผาไหม้ไม่ได้
  • ขยะเชื้อเพลิง สามารถนำไปใช้กับเทคโนโลยีได้หลายประเภท ทั้งเตาเผา Gasification และ Pyrolysis
  • ขยะเชื้อเพลิงสามารถใช้เป็นเชื้อเพลิงในการเผา เพื่อลดปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดิบ และถ่านหินได้

หมวด : โรงไฟฟ้ากำจัดขยะในไทย

  • โรงไฟฟ้าขยะแบบเตาเผา กรุงเทพฯ อยู่ในพื้นที่เขตหนองแขม
  • สายไหม หนองแขม อ่อนนุช เป็นที่ตั้งของสถานีขนถ่ายขยะของกรุงเทพฯ ส่วน เขตจตุจักร ไม่มีสถานีขนถ่ายขยะ
  • สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา และเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งโรงไฟฟ้าขยะที่ใช้ประโยชน์จากก๊าซของหลุมฝังกลบขยะ
  • โรงไฟฟ้าพลังงานขยะแพรกษา จ.สมุทรปราการ ใช้เทคโนโลยีเตาเผาช่วยกำจัดขยะในชุมชน
  • จ.สงขลา จ.ขอนแก่น และ จ.ตาก เป็นที่ตั้งของโรงไฟฟ้าขยะ ยกเว้น จ.กาญจนบุรี ไม่ใช่ที่ตั้งของโรงไฟฟ้าขยะ
  • ศูนย์กำจัดขยะมูลฝอยหนองแขม หาดใหญ่ และภูเก็ต ต่างก็ใช้เทคโนโลยีการกำจัดขยะด้วยเตาเผา
  • การทำประชาพิจารณ์ เป็นการประชาสัมพันธ์ ช่วยสร้างความรู้ความเข้าใจ และให้ประชาชนได้แสดงความเห็น

หมวด : ประโยชน์ของการสร้างโรงไฟฟ้าขยะ

  • การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม เช่น น้ำชะขยะ ก๊าซเรือนกระจก และการใช้สารเคมี
  • การผลิตพลังงานจากขยะ สร้างประโยชน์ให้ชุมชน เช่น ลดขยะในพื้นที่ ลดการใช้ปุ๋ยเคมี ช่วยให้ผู้คนมีชีวิตที่ดีขึ้น
  • การจัดการขยะด้วยเทคโนโลยีก๊าซชีวภาพ ส่งผลดี คือ ไม่ส่งกลิ่นเหม็น นำขยะกลับมาใช้ใหม่ ลดปริมาณขยะที่จะนำไปฝังกลบ
  • การเปลี่ยนขยะเป็นพลังงานช่วยส่งเสริมเศรษฐกิจ เช่น ลดการนำเข้าพลังงาน ลดงบกำจัดขยะ มีรายได้เพิ่มจากการขายไฟฟ้า